สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot


 
มุมภาพถ่าย
ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมงานประชุม
สมัครสมาชิกชมรม
จดหมายข่าวสำหรับสมาชิกชมรม


ประวัติสมาคม article
 

สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย) (REGULATORY AFFAIRS PHARMACY ASSOCIATION (THAILAND)) หรือ RAPAT ได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีวัตถุประสงค์ 8 ประการ คือ

  • เป็นองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • กำหนด พัฒนา และดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารด้านเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • ร่วมแก้ปัญหา ให้ความรู้และคำแนะนำด้านทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์
  • ร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม และภาคเอกชน ในการพัฒนาระบบ กฎหมาย ระเบียบ
  • และ หลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
  • สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก กับหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • ไม่ดำเนินกิจการใดๆเกี่ยวกับการเมือง

สมาคมฯ เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ ร่วมก่อตั้งจากเภสัชกรที่ทำงานขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากองค์กรต่างๆ โดยแต่เดิมมีชื่อว่า ชมรมเภสัชกรด้านทะเบียนผลิตภัณฑ์ (REGULATORY AFFAIRS PROFESSION SOCIETY) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า RAPS

ชมรมเภสัชกรด้านทะเบียนผลิตภัณฑ์ ได้มีการจัดประชุม เป็นครั้งแรก ที่โรงแรมปริ้นเซส เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2532 ซึ่งขณะนั้น มีประมาณ 21 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และช่วยเหลือกันในการทำงาน ด้านการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ และเริ่มมีความคิดที่จะก่อตั้งเป็นชมรมฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2533 จึงได้มีการก่อตั้งเป็นชมรมขึ้นโดยครั้งแรกมีชื่อว่า ‘ชมรมเภสัชกร    ฝ่ายทะเบียน’ มีคณะกรรมการ ดังรายชื่อต่อไปนี้ ภญ. มาลินี อุทิตานนท์ ประธานชมรม , ภญ. ประนอม ตันตระกูล รองประธานชมรม ,       ภญ. กุลประภา เอื้อชัยกุล เลขานุการ, ภญ. วัลภา รงศิริกุล (เตียสุวรรณ) ประชาสัมพันธ์ , ภญ. ดวงจันทร์ วงศ์พรหมเวชย์ เหรัญญิก

ขณะนั้น มีสมาชิกทั้งสิ้น 41 ท่าน โดยกิจกรรมในระยะแรก มีการจัดให้สมาชิกได้พบปะ แลกเปลี่ยน พูดคุย และช่วยแก้ปัญหา กันในหมู่สมาชิกเป็นประจำทุกเดือน มีกิจกรรมงานเลี้ยงสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกษียณอายุราชการ ตลอดจนมีการแสดงความยินดี  ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ได้รับการเลื่อนขั้นตำแหน่งต่างๆ

ซึ่งต่อมาชมรมฯได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมเภสัชกรขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ (Registration Pharmacist Club (RPC)) และปรับให้กิจกรรมของชมรมฯมีความเข้มแข็งขึ้น มีการเผยแพร่จัดทำจดหมายข่าว ให้สมาชิกทุก 1-2 เดือน จนมีสมาชิกจำนวนเพิ่มขึ้นจนเป็น 140-160 ท่าน ฝ่ายทะเบียนสมาชิก เป็นฝ่ายที่มีความสำคัญมาก โดยมี ภญ. กฤษณา วินิจธรรมกุล ได้ช่วยสร้างฐานข้อมูลสมาชิก ตลอดจนระบบการต่ออายุสมาชิกให้ราบรื่น ชมรมฯได้มีการจัดประชุมวิชาการ เรื่อง กฎเกณฑ์ ระเบียบ การขึ้นทะเบียนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ การขอโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา      ตลอดจนพระราชบัญญัติต่างๆ         ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของชมรมฯ เป็น Regulatory Affairs Profession เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิกให้ถูกต้องตามมาตรฐานและเป็นไปตามหลักสากล และจากการประชุมสมาชิกชมรมฯประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2549 ได้มีการกำหนดพันธกิจ และวิสัยทัศน์ และเห็นพ้องให้มีการเปลี่ยนชื่อชมรมฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีชื่อว่า ชมรมเภสัชกรด้านทะเบียนผลิตภัณฑ์ (Regulatory Affairs Profession Society) และมีแผนจัดทำหนังสือหรือคู่มือสมาชิกชมรมฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหมู่มวลสมาชิก สร้างความร่วมมือ ความเข้มแข็ง ให้กับเภสัชกรรมวิชาชีพด้านทะเบียนผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับในวงการเภสัชกรรมวิชาชีพสาขาอื่นๆ อีกด้วย

อนึ่ง จากการประชุมสมาชิกประจำปี 2554 และ การประชุมคณะกรรมการชมรมฯ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันให้มีมติในการจัดตั้ง สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย) ขึ้นโดยคณะกรรมการชมรมฯได้ยกร่างระเบียบข้อบังคับสมาคมฯและนำเสนอขอจดทะเบียนสมาคมฯจาก นายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร ให้จัดตั้งเป็นสมาคมฯได้ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคมที่ จ.5071/2555 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในชื่อว่า สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย) (REGULATORY AFFAIRS PHARMACY ASSOCIATION (THAILAND)) หรือ RAPAT โดยวิชาชีพเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญ และจำเป็นในองค์กรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลให้ผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการกำกับดูแลของรัฐ ตลอดจนมีหน้าที่ให้การประกอบการดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย

 




ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคม

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ article
รายชื่อกรรมการสมาคม article
มาตรฐานวิชาชีพ article
RAPAT Handbook article
ประกาศสมาคม RAPAT พ.ศ. 2565
ข้อบังคับสมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ อนุมัติเมื่อ 30 พ.ค. 2565
[TEST] RAPAT PDA Agreement
RAPAT_STARx E-Book